วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

4 ประเภทของ Stop losses

4 ประเภทของ Stop losses


อาชีพเทรดเดอร์ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งนโยบายการเงิน , การเมือง , เศรษฐกิจ , สงคราม , พฤติกรรมผู้บริโภค และต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถคาดเดาได้ 100 % ทำให้การเทรดในบางครั้งต้องเกิดการสูญเสียบ้าง ซึ่งการแพ้ในการเทรดนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ “ต้อง” เกิดขึ้นอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องควบคุมให้การแพ้นั้นไม่ส่งผลต่อภาพรวมของพอร์ตเรา


สิ่งที่จะเป็นตัวควบคุมการแพ้ของเรานั้นไม่ให้สร้างความเสียหายต่อพอร์ตโดยรวมเราได้นั้น คือการกำหนดจุด Stop loss ซึ่งจะทำให้เราอยู่รอด ยังสามารถเทรด ยังสามารถเรียนรู้ และค่อยๆพัฒนาตัวเราไปได้ เพราะเรายังมีพอร์ตให้เทรดอยู่ แต่ถ้าพอร์ตเราแตก เราจะไม่สามารถเทรด ไม่สามารถเรียนรู้ และไม่สามารถพัฒนาตัวเราไปได้
ดังนั้น Stop loss ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ โดยการกำหนด Stop loss นั้น ใช้หลักการง่ายๆเลยคือ Stop loss เมื่อภาพที่เราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นเป็นโมฆะ … แค่นั้นเอง เมื่อภาพที่เราคาดการณ์ไว้ผิด ให้เราหยุดการเทรดนั้น เราไม่ควรเทรดต่อ เพราะมันภาพมันเปลี่ยนไปแล้ว


ส่วนวิธีการตั้ง Stop loss หลักๆ นั้นมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ
  1. Percentage stop
ตั้งตาม % ตามสัดส่วนของพอร์ต เช่น กำหนด Stop 2% คือ เมื่อพอร์ตมูลค่า 100,000 บาท ยอดให้ Stop ที่ 2,000 บาท เป็นต้น  ส่วนเรื่องการกำหนดจุด Stop ก็ต้องเป็นไปตามดุลพินิจของตัวเทรดเดอร์ และจากนั้นก็นำ ยอดให้ที่ Stop และจุด Stop มากำหนดขนาด Position size ว่าจะเข้าเทรดเท่าไหร่ (ไม่ควรกำหนดจุด Stop จากยอดที่ให้ Stop ควรจะมาจากจุด Stop ที่เหมาะสมกับกราฟที่เราวิเคราะห์มากกว่า เนื่องจากการกำหนดจุด Stop จากยอดวงเงินเรานั้น เป็นตัวเรากำหนดเอง ซึ่งตลาด Forex ไม่สนหรอกว่าพอร์ตเราเท่าไหร่ มันเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของมัน เราไม่ควรไปคิดเอง ควรทำตามการเคลื่อนไหวของตลาดมากกว่า)


  1. Volatility stop
เป็นการกำหนดจุด Stop loss ที่คำนวณจากความผันผวนของราคาในตลาด ยกตัวอย่างเช่น ในหนึ่งวัน EURUSD กรอบการเคลื่อนไหวอยู่ราว 100 pips ต่อวัน ถ้าเราตั้ง Stop loss อยู่ที่ 20 pips มันก็ไม่เหมาะสม เพราะการตั้ง Stop loss นั้นแคบ เราจะโดนราคาเหวี่ยงไปกิน Stop loss บ่อยมาก หรืออย่าง GBPUSD กรอบการเคลื่อนไหวอยู่ราว 50 pips ต่อวัน ถ้าเราตั้ง Stop loss อยู่ที่ 100 pips มันก็ไม่เหมาะสมเพราะว่าเราตั้งกว้างเกินไปเช่นกัน
เทรดเดอร์ส่วนมากใช้วิธีการนี้ในการกำหนดจุด Stop loss ส่วนการหากรอบการแกว่งตัว หรือช่วงความผันผวนของราคานั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ATR , Bollinger bands เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ไว้ใช้วัดความผันผวนของราคา

ตัวอย่างการใช้ Bollinger bands ในการตั้ง Stop loss

ตัวอย่างการใช้ ATR ในการตั้ง Stop loss

  1. Chart stop
  วิธีการนี้เทรดเดอร์ส่วนมากก็นิยมใช้เช่นเดียวกัน คือกำหนด Stop loss การรูปแบบราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าราคาไม่เป็นไปตามกราฟเดิมที่คาดการณ์ไว้ ก็จะตั้ง Stop loss ตรงที่ราคาจะทำให้กราฟเปลี่ยน

ตัวอย่าง Chart stop กรณีฝั่ง Long ถ้าราคาลงต่ำกว่า 1.2800 ก็จะตัดขาดทุนออกไป
  1. Time stop
เป็นการกำหนด Stop loss อีกอย่างหนึ่งที่ในกรณีว่า Entry แล้วราคาไม่ไปไหน นิ่งๆ ไม่ถึงเป้าหมาย และก็ไม่โดน Stop เช่นกัน อย่างนี้ก็ถือว่าราคาไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ก็ให้ออกจากออเดอร์นั้น

ตัวอย่าง Time stop เมื่อ Long entry แล้ว ราคาแกว่งตัว Sideway ออกด้านข้างไม่ไปไหน

ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น