วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อย่าสู้กับเจ้า

อย่าสู้กับเจ้า


            ทุกตลาด ทุกสินค้า มักมีเจ้าในการกำหนดราคาเป็นปกติอยู่แล้ว และยิ่งพวก Commodity อย่างทองคำ น้ำมัน ฝ้าย ยางพารา คนที่เป็นเจ้านั้นก็คือคนผลิตนั้นเอง ดังนั้นถ้าเราเล่นอยู่ฝั่งเดียวกับเจ้า ก็จะทำให้โอกาสการชนะของเรามากขึ้น


            คำถามคือ … จะรู้ได้อย่างไรมาเจ้าตอนนี้อยู่ฝั่งไหน เล่น Long หรือ Short … เทรดเดอร์สามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า COT (Commitment of trader) ที่เป็นรายงานการถือครองสถานะของตลาด Futures ในสหรัฐ ที่แบ่งประเภทผู้เล่นออกเป็น 3 ประเภท
  1. Commercial: พวกที่ทำธุรกิจนั้นจริงๆ ใช้ตลาด Future เป็นเครื่องมือในการ Hedging
  2. Non-Commercial: พวกธนาคาร, กองทุน, หรือรายใหญ่
  3. Non-reportable positions: รายย่อย
            สิ่งที่ต้องดูคือ Commercial หรือคนที่เป็นเจ้านั่นเอง เจ้ามักจะเป็นคนกำหนดการเคลื่อนไหวของราคา เพราะพวกเขามีสินค้าจริงอยู่ในมือ รู้ระดับความต้องการในตลาดจริงๆ


            กราฟด้านบนเป็นกราฟของราคาทองคำกับ C.O.T. Index เส้นสีน้ำเงินที่แสดงถึงยอดการเปิด Long และ Short ของพวก Commercial
            เมื่อกราฟชันขึ้น – แสดงถึงเจ้าเปิด Long , มักจะเป็นช่วง Low ของราคา
            เมื่อกราฟชันลง – แสดงถึงเจ้าเปิด Short , มักจะเป็นช่วง High ของราคา
            ซึ่งจะเห็นได้ว่าเจ้าชนะแทบทุกรอบการแกว่งตัวของราคา ดังนั้นเทรดเดอร์ก็ควรจะเทรดอยู่ในฝั่งที่ได้เปรียบก็คือเล่นตามเจ้านั่นเอง โดย Indicator ตัวนี้ เราสามารถนำมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะมาช่วยยืนยันทิศทางของการเทรดเรา สามารถเพิ่ม %การชนะให้สูงขึ้น กำไรเราก็จะสูงขึ้นตามอีกด้วย


ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

ใหญ่ กลาง เล็ก

ใหญ่ กลาง เล็ก


            เทรดเดอร์มืออาชีพอย่าง Dr. Alexander Elder ผู้เขียนหนังสือ The new trading for a living ที่โด่งดังมากในวงการเทรดเดอร์นั้น ได้อธิบายการใช้ 3 จอในการเทรดเพื่อดู 1.แนวโน้มใหญ่ 2.แนวโน้มกลาง และ 3. แนวโน้มย่อย โดยมีจุดประสงค์การดูแต่ละแนวโน้มที่แตกต่างกันออกไป


            แนวโน้มใหญ่ : ไว้ดูแนวโน้มหลัก ดูทิศทางว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง โดยจะเป็นตัวกำหนดฝั่ง Order ว่าจะเล่นฝั่งไหน เช่น ถ้าแนวโน้มใหญ่เป็นขาขึ้น จะเล่นแต่ฝั่ง Long ไม่เล่น Short และในทางตรงกันข้าม ถ้าแนวโน้มใหญ่เป็นขาลง จะเล่นแต่ฝั่ง Short ไม่เล่น Long ซึ่งในการดูแนวโน้มใหญ่นั้นจะใช้เครื่องมือพวก Trend following ในการดูแนวโน้มว่าเป็นทิศทางใด
            แนวโน้มกลาง : เป็นแกนหลักที่เอาไว้ดูว่าเทรดเดอร์จะเล่นในภาพขนาดไหน เช่น เล่นสั้นก็ดูภาพ 15 นาที , เล่นรอบก็รายวัน เป็นต้น และจะคอยเป็นตัวดูจังหวะในการเข้าเทรด ซึ่งในแนวโน้มกลางจะใช้เครื่องมือที่เป็นพวก Oscillators ไว้หาจังหวะที่ราคาย่อตัวในแนวโน้มขาขึ้น หรือจังหวะที่ราคาฟื้นตัวในแนวโน้มขาลง
            แนวโน้มย่อย : จะเป็นการหาจุด Entry ในการเทรด

ตัวอย่างการเข้าเทรด
- เริ่มจากพิจารณาแนวโน้มใหญ่ (รายสัปดาห์) ในที่นี้ใช้ MACD histogram ในการดูว่าแนวโน้มเป็นขาขึ้นหรือขาลง


ก็จะสามารถกำหนดฝั่งการซื้อขายได้แล้วว่าจะเล่น Long หรือ Short

- จากนั้นพอทราบฝั่งการซื้อขายแล้ว ก็มาหาจังหวะการเข้าซื้อ โดยมาดูในแนวโน้มระยะกลาง (ภาพรายวัน) ว่าจะมีสัญญาณการเข้าซื้อในบริเวณใด ในที่นี้ใช้เครื่องมือ Stochastic ในการพิจารณาหาจุดซื้อ


ในช่วงที่ภาพรายสัปดาห์เป็นขาขึ้น เราจะหาจังหวะเข้าซื้อจากภาพรายวัน โดยจะเข้าซื้อเมื่อราคาย่อตัวลงมา ในที่นี้พิจารณาจากช่วงที่ Stochastic ลงต่ำกว่าระดับ 20 (Oversold)

- พอได้จังหวะการซื้อหรือขายแล้ว ให้เข้ามาดูในภาพย่อย เพื่อหาจุด Entry


ปกติแล้ววิธีการเข้าจะมีอยู่ 2 อย่างคือ
  1. ตั้งรอซื้อในระดับที่ต่ำกว่า – จะใช้เป็น % หรือค่าอะไรก็ได้มากำหนดจุดเข้าซื้อ
  2. รอราคา Breakout ของแท่งเทียนก่อนหน้า

            เป็นยังไงละครับ พอเห็นภาพกันไหม กลยุทธ์นี้สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องมือต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม และสิ่งสำคัญคือการบริหารความเสี่ยง อย่าลืมตั้งจุด Stop loss คำนวณ Position size ตามความเสี่ยงได้เรารับได้ และการวางเป้าหมายการทำกำไรที่เหมาะสมก็จะสามารถทำให้การเทรดของเรามีประสิทธิอย่างมาก

ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

ทำไม่ถึงไม่มี Holy grail

ทำไม่ถึงไม่มี Holy grail


            ให้ไปถามเทรดเดอร์มืออาชีพที่ประสบความสำเร็จใครก็ได้ ไม่ว่าจะสาย Quant สาย Technical สาย Fundamental หรือใครก็ได้ที่เก่งๆ จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มันไม่มีวิธีการ , ระบบ , หรือกลยุทธ์ที่เป็น Holy grail ที่จะสามารถทำกำไรได้ 100% ในตลาด Forex แห่งนี้


            มันมีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการ
  1. เราไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้
            ไม่มีใครรู้ร่วงหน้าว่าประธานธนาคารจะดำเนินนโยบายอะไรในอนาคต หรือพวก Fund manager หรือนักลงทุนใหญ่ๆ อย่าง Soros หรือ Buffet นั้นจะออกมาประกาศว่าจะซื้อหรือขายอะไร และเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสงครามเมื่อใด ไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติอย่าง Tsunami หรือแผ่นดินไหวเมื่อไหร่ … เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้เหล่านี้มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาด เมื่อมันเกิดขึ้นมันสามารถทำให้ตลาดพังได้ รวมถึงระบบเทรดของเราด้วยเช่นกัน
            ควรทำความเข้าใจว่าความไม่แน่นอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดอยู่แล้ว สิ่งที่เราทำได้คือเตรียมรับมืออยู่ตลอดเวลา กำหนด Limit losses และควบคุมบริหารหน้าตักให้ดี ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เราอยู่รอดในตลาดแห่งนี้ได้ในระยะยาว


  1. ข้อมูลไม่ได้เป็นทำขับเคลื่อนตลาด มนุษย์ต่างหากที่เป็นคนทำ
            บางครั้งที่ข้อมูลกับราคานั้นไม่สัมพันธ์กัน … ก็เพราะว่า บางทีเทรดเดอร์หลายๆคนไม่ได้สนข้อมูลนั้น ผู้เล่นในตลาดนั้นประกอบด้วยคนเป็นจำนวนล้านๆ หลากหลายอายุ หลากหลายประสบการณ์ กลยุทธ์ที่ใช้ เป้าหมาย ขนาดการลงทุนล้วนแตกต่างกันทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ตลาดไม่ได้ตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้รับ อย่าลืมว่าราคาที่เคลื่อนไหวจริงๆแล้วมาจากแรงซื้อแรงขายของคนที่อยู่ในตลาด ซึ่งไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ 100% หรอกว่าคนในตลาดจะคิดอย่างไร ซึ่งทำให้มีใครที่เดาตลาดถูกทุกครั้ง
            ดังนั้นสิ่งที่อยากจะบอกกับเทรดเดอร์ทุกท่านที่ยังตามหาเครื่องมือที่เป็น Holy grail นั้นเป็นสิ่งที่เสียเวลากับเรามาก เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เราควรยอมรับว่าการคาดการณ์ที่ผิดบางครั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการเทรดอยู่แล้ว ไม่มีใครถูก 100% ในธรรมชาติของตลาด Forex อยู่แล้ว มีแต่พวกกูรูที่มาหลอกขายสินค้า ขายคอร์ส ว่ามีสูตรลับ ซึ่งมันไม่มีอยู่จริงครับ


ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

จุดออก คงที่ หรือ ยืดหยุ่น

จุดออก คงที่ หรือ ยืดหยุ่น


  เทรดเดอร์หลายคนใช้เวลาอย่างมากในการหาจุดเข้า (Entry) จนลืมไปว่าสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กันเลยคือจุดออก (Exit) ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวตัดสินชะตาชีวิตของตัวเทรดเดอร์เช่นเดียวกัน หากวิธีการเข้าเราดี แต่เวลาออกนั้นไม่ดี ก็จะทำให้ไม้ที่เทรดนั้นแพ้ได้ ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญกับจุดออกเช่นเดียวกัน ส่วนวิธีการออก (Exit) อยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ


1) แบบคงที่ หรือพวก Fixed target
2) แบบยืดหยุ่น หรือพวก Let profits run
ซึ่งต้องบอกว่า 2 แบบนี้ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แบบแรกเป็นลักษณะคงที่ โดยมีเป้าหมายทำกำไรที่ชัดเจน กำหนดตามจังหวะที่เข้าไว้แล้ว ส่วนมากจะใช้ระดับแนวรับ แนวต้าน , Price pattern , Gap , Trend line ในการกำหนดไว้แล้ว ข้อดีของแบบนี้คือสามารถวัด Risk/reward ได้อย่างชัดเจน ว่าในการเทรดครั้งนี้มี Risk/reward เท่าไหร่ก่อนเข้าไปเทรด เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่เล่นสั้น หรือเล่นรอบ มีเป้าหมายการทำกำไรที่ชัดเจน แต่ข้อเสียคือไม่สามารถรันเทรนได้ จะไม่เกิด Big winners


ส่วนแบบที่ 2 ที่เป็นแบบยืดหยุ่น จะปล่อยให้ Let profits run คือเมื่อทำกำไรนั้นปล่อยให้ราคาวิ่งไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบแนวโน้มนั้น โดยใช้ Trailing stop ในการออก มักใช้ Indicator จำพวกเส้นค่าเฉลี่ยในการรันเทรน เมื่อราคาสูงขึ้น จุด Stop loss ขยับสูงขึ้นตาม ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถกินคำใหญ่ได้ เหมาะสำหรับตลาดที่เป็นเทรน (Trending markets) แต่จะแย่ในช่วงที่ตลาดเป็น Sideway


คำถามคือ แบบกันดีกว่กันา??
คำตอบคือ มันไม่มีแบบไหนดีกว่ากันหรอก ทุกกลยุทธ์นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป อย่าลืมว่าในโลกการเทรดไม่มี Holy grail ทั้ง 2 อย่างนี้มันใช้ได้ เพียงแค่เราเข้าใจมัน มันก็สามารถทำกำไรให้เราได้ ให้เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะกับเรา เข้ากับเรา ตรงกับจริตเรามากที่สุดแค่นั้นพอ

ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

คำพูดของเทรดเดอร์

คำพูดของเทรดเดอร์


            บทความนี้จะนำคำพูดสำคัญๆของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จมาให้เพื่อนๆได้เรียนรู้กัน เชื่อว่าคำพูดเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถพัฒนาการเทรดในตลาด Forex แห่งนี้ได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว


“ถ้าคุณอยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าคนทั่วไป , คุณต้องทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนทั่วไป” – Sir John Templeton
            คำพูดนี้ไม่ได้หมายถึงวิธีการเทรดอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถหมายถึงความคิดของเทรดเดอร์อีกด้วย คนส่วนมากหวังที่จะรวยเร็ว แต่ไม่ต้องการที่จะเหนื่อย ไม่ต้องการที่จะลำบาก และสุดท้ายก็ไม่รวยสักที ถ้าเราไม่อยากเหมือนคนเหล่านี้ก็แค่ทำให้มันแตกต่าง

“พวกโรงเรียนสอนธุรกิจมักให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ยุ่งยากซับซ้อน มากกว่าพฤติกรรมที่เรียบง่าย , แต่พฤติกรรมที่เรียบง่ายมีประสิทธิภาพมากกว่า” – Warren Buffett
            เราไม่ต้องฉลาดเป็นกรดอย่างพวกใช้ Quantitative finance , Trading algorithms หรือเครื่องมือที่ซับซ้อน ของเพียงเข้าใจหลักการง่ายๆ ที่ใช้ทำกำไรได้ก็เพียงพอแล้ว


“ผมแค่รอจนกว่าจะมีเงินมาวางที่มุมห้อง สิ่งที่ผมทำก็แค่ไปที่ตรงนั้นและหยิบมันขึ้นมา ในระหว่างรอนั้นผมก็ไม่ได้ทำอะไร” – Jim Rogers
            สิ่งสำคัญของการเทรดคือ เทรดในช่วงที่ควรเทรด เทรดเดอร์มืออาชีพเค้าไม่จำเป็นต้องเทรดอยู่ตลอด ขอแค่มีจังหวะที่เขาคิดว่าเขาได้เปรียบและสามารถทำกำไรจากตรงนั้น เขาก็เข้าไปเทรด แค่นั้น

“ตลาดไม่รู้หรอกว่าเราถือ Long หรือ Short และไม่แคร์ด้วยซ้ำ มีเพียงเราที่ใส่อารมณ์กับ Position ที่เราถือเพียงคนเดียวเท่านั้น ตลาดแค่เคลื่อนไหวไปตาม Supply และ Demand โดยถ้ามีฝั่งหนึ่งเชียร์ขึ้น ยังไงก็ต้องมีอีกฝั่งหนึ่งเชียร์ลง” – Marty Schwarz, Pit Bull
            เราไม่ควรใส่อารมณ์ไปกับการเทรด ตลาดไม่สนหรอกว่าเรารวยหรือจน เราซื้อหรือขาย Stop เราอยู่ตรงไหน จุดทำกำไรเราเท่าไหร่ สิ่งที่เราทำได้คือควบคุมเงินทุนให้เหมาะสม ดำเนินแผนการเทรดอย่างที่เตรียมไว้ให้เหมาะสม แค่นั้น ไม่เดาตลาด


“ตลอดที่อยู่วงการนี้ ฉันมักเห็นคนที่พังเพราะไม่คำนึงถึงความเสี่ยง ถ้าคุณไม่ระวังเรื่องความเสี่ยง สักวันคุณจะพังเพราะมัน” – Larry Hite
            เมื่อเรามี Set up ที่สามารถสร้างกำไรได้แล้ว สิ่งสำคัญในส่วนถัดมาคือควบคุมความเสี่ยง … เงินเป็นเครื่องมือในการทำกำไรของเทรดเดอร์ ถ้าปราศจากเงินแล้วเทรดเดอร์ก็ไม่สามารถทำกำไรได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของเทรดเดอร์เลยคือ เงินทุน และสิ่งที่จะปกป้องเงินทุนได้คือการควบคุมความเสี่ยงนั่นเอง

ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

กฏ 2 ข้อเมื่อใช้ Stop orders

กฏ 2 ข้อเมื่อใช้ Stop orders


            เมื่อเราเข้าไปเทรด กำหนดเป้าหมายการทำกำไร วาง Stop loss เรียบร้อยแล้ว และถ้าราคาไม่เป็นไปอย่างที่คาดไว้ มาถึงระดับที่เราวาง Stop ไว้ เราควรทำอย่างไร … คำตอบเดียวเลยคือ ถ้าราคาถึงจุด Stop ให้ Stop อย่างทันที ไม่มีข้ออ้างอื่นใดๆ ทั้งสิ้น !
            ในตลาด Forex อยากจะให้มือใหม่ทุกท่านทุกครั้งที่เทรดให้ใช้คำสั่ง Limit orders หรือจะกำหนด Stop loss ล่วงหน้าไว้ก่อน เพื่อจะได้บังคับให้ตัวเองทำตาม Stop loss ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนในการเทรด บังคับให้ทำตามวินัย


            บางคนอาจใช้ Stop มือ อันนี้สำหรับเทรดเดอร์ที่ชำนาญแล้วก็อาจจะใช้ได้ แต่ยังคงยืนยันว่าการใช้ Limit orders ในการ Stop นั้นค่อนข้างดีกว่า เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่ไม่อาจคาดคิด เช่น การคีย์ราคาผิด , ไฟดับ , หกล้ม เป็นต้น ซึ่งการใช้ Limit orders จะช่วยป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ และยังทำให้เราควบคุมตัวเราเองได้อีกด้วย
          กฏ 2 ข้อหลักในการใช้ Stop orders (Limit orders)
  1. ไม่ขยับจุด Stop ให้กว้างขึ้น : ผิดคือผิด เมื่อราคาถึงจุด Stop แล้วแปลว่าสิ่งที่เราคิดก่อนหน้านั้นมันผิด ให้เราหยุดการเทรดนั้นทันที แล้วมาวางแผนใหม่ อย่าไปฝืนเทรดต่อ มิฉะนั้นจะเจอหายนะ
  2. ใช้ Trailing stop เพื่อ Lock กำไร : เมื่อถูกทางก็ให้ Lock กำไรโดยใช้ Trailing stop ในการ Lock เพื่อไม่ให้ไม้ที่เรากำไรกลายเป็นขาดทุน
            สิ่งสำคัญที่สุดคือทำตามแผนที่วางไว้ตอนแรก เทรดเดอร์หลายท่านที่พ่ายแพ้ออกจากตลาด Forex นี้ไปก็มาจากการไม่ Stop loss ไม่ทำตามแผน ขยับจุด Stop ออกไปเรื่อยๆ ทำให้สุดท้ายพอร์ตรับไม่ไหวในที่สุด


ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Leverage ยาดี หรือยาพิษ

Leverage ยาดี หรือยาพิษ


            Leverage เป็นหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาให้นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากมัน โดยการที่เราสามารถซื้อขายสินค้าในตลาด Forex ด้วยเงินเพียงเล็กน้อย อย่างเช่น จะเทรดทองคำมูลค่า 1,200 ดอลลาร์ เราสามารถวางเงินเพียง 12 ดอลลาร์ (1:100) ตามเงื่อนไขของโบรกเกอร์ที่เราเลือก ซึ่งถ้าทองคำเคลื่อนไหวถูกทาง คือขึ้น 12 ดอลลาร์ ไปเป็น 1,212 ดอลลาร์ นั้นหมายความว่า พอร์ตเราบวกถึง 100% เลยทีเดียว แต่ในทางกลับกัน ถ้าผิดทางพอร์ตเราก็ติดลบ 100% เช่นเดียวกัน


            แล้วมี ดีหรือไม่ดี ?? … ต้องบอกว่าถ้าเราใช้มันอย่างถูกต้อง อย่างเหมาะสม มันจะเป็น ยาดี สำหรับเทรดเดอร์ ช่วยให้เทรดเดอร์ไม่ต้องลงเงินทุนเยอะ สามารถใช้เงินทุนน้อยๆในการปั้นพอร์ต อย่างเช่น การทำกำไรของพอร์ตมูลค่า 100,000 กับ 1,000,000 บาท ถ้าสมมติเทรดเดอร์ 2 คนนี้ความสามารถเท่ากัน โดยสามารถทำกำไรได้ปีละ 10% คนแรกจะได้ 10,000 บาท ส่วนคนที่สองจะได้ 100,000 บาท ซึ่งต่างกันถึง 10 เท่าในแง่ตัวเงิน ซึ่งคนที่พอร์ตเล็กกว่าสามารถใช้ Leverage ในการเข้าช่วยได้ โดยสามารถเทรดพอร์ตที่มูลค่า 1,000,000 บาทได้เช่นกัน โดยอาศัยเข้าเทรดสินค้าที่มี Leverage อยู่ที่ 1:10 อะไรประมาณนี้ … แต่อย่างลืมว่า ในส่วนของพอร์ตเล็กก็ต้องควบคุมการสวิงของพอร์ตหรือ Draw drawn เพื่อไม่ให้โดย Margin call เพราะอย่างพอร์ต 1,000,000 บาท เทรดไปเรื่อยๆ ขาดทุนไป 100,000 บาท พอร์ตลดไปเหลือ 900,000 บาท ก็ยังเทรดต่อได้ แต่ในส่วนของพอร์ต 100,000 บาทนั้น ถ้าเปิด Leverage พอขาดทุน 100,000 บาท พอร์ตก็เหลือ 0 บาท โดนปิดไป ไม่สามารถเทรดต่อได้ … อันนี้เป็น ยาพิษ สำหรับเทรดเดอร์ที่ควบคุมความเสี่ยงไม่ดี จากประสบการณ์ส่วนใหญ่ที่ทำให้เทรดเดอร์แพ้ออกจากตลาด สิ่งที่พบเจอบ่อยๆ เลยคือ การความคุมความเสี่ยงไม่ดี มองแต่ด้านกำไร ไม่เคยมองด้านขาดทุน พอเกิดการขาดทุน แล้วทำให้พอร์ตรับไม่ไหว จึงเป็นผลให้พอร์ตแตกในที่สุด


ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

4 ประเภทของ Stop losses

4 ประเภทของ Stop losses


อาชีพเทรดเดอร์ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งนโยบายการเงิน , การเมือง , เศรษฐกิจ , สงคราม , พฤติกรรมผู้บริโภค และต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถคาดเดาได้ 100 % ทำให้การเทรดในบางครั้งต้องเกิดการสูญเสียบ้าง ซึ่งการแพ้ในการเทรดนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ “ต้อง” เกิดขึ้นอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องควบคุมให้การแพ้นั้นไม่ส่งผลต่อภาพรวมของพอร์ตเรา


สิ่งที่จะเป็นตัวควบคุมการแพ้ของเรานั้นไม่ให้สร้างความเสียหายต่อพอร์ตโดยรวมเราได้นั้น คือการกำหนดจุด Stop loss ซึ่งจะทำให้เราอยู่รอด ยังสามารถเทรด ยังสามารถเรียนรู้ และค่อยๆพัฒนาตัวเราไปได้ เพราะเรายังมีพอร์ตให้เทรดอยู่ แต่ถ้าพอร์ตเราแตก เราจะไม่สามารถเทรด ไม่สามารถเรียนรู้ และไม่สามารถพัฒนาตัวเราไปได้
ดังนั้น Stop loss ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ โดยการกำหนด Stop loss นั้น ใช้หลักการง่ายๆเลยคือ Stop loss เมื่อภาพที่เราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นเป็นโมฆะ … แค่นั้นเอง เมื่อภาพที่เราคาดการณ์ไว้ผิด ให้เราหยุดการเทรดนั้น เราไม่ควรเทรดต่อ เพราะมันภาพมันเปลี่ยนไปแล้ว


ส่วนวิธีการตั้ง Stop loss หลักๆ นั้นมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ
  1. Percentage stop
ตั้งตาม % ตามสัดส่วนของพอร์ต เช่น กำหนด Stop 2% คือ เมื่อพอร์ตมูลค่า 100,000 บาท ยอดให้ Stop ที่ 2,000 บาท เป็นต้น  ส่วนเรื่องการกำหนดจุด Stop ก็ต้องเป็นไปตามดุลพินิจของตัวเทรดเดอร์ และจากนั้นก็นำ ยอดให้ที่ Stop และจุด Stop มากำหนดขนาด Position size ว่าจะเข้าเทรดเท่าไหร่ (ไม่ควรกำหนดจุด Stop จากยอดที่ให้ Stop ควรจะมาจากจุด Stop ที่เหมาะสมกับกราฟที่เราวิเคราะห์มากกว่า เนื่องจากการกำหนดจุด Stop จากยอดวงเงินเรานั้น เป็นตัวเรากำหนดเอง ซึ่งตลาด Forex ไม่สนหรอกว่าพอร์ตเราเท่าไหร่ มันเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของมัน เราไม่ควรไปคิดเอง ควรทำตามการเคลื่อนไหวของตลาดมากกว่า)


  1. Volatility stop
เป็นการกำหนดจุด Stop loss ที่คำนวณจากความผันผวนของราคาในตลาด ยกตัวอย่างเช่น ในหนึ่งวัน EURUSD กรอบการเคลื่อนไหวอยู่ราว 100 pips ต่อวัน ถ้าเราตั้ง Stop loss อยู่ที่ 20 pips มันก็ไม่เหมาะสม เพราะการตั้ง Stop loss นั้นแคบ เราจะโดนราคาเหวี่ยงไปกิน Stop loss บ่อยมาก หรืออย่าง GBPUSD กรอบการเคลื่อนไหวอยู่ราว 50 pips ต่อวัน ถ้าเราตั้ง Stop loss อยู่ที่ 100 pips มันก็ไม่เหมาะสมเพราะว่าเราตั้งกว้างเกินไปเช่นกัน
เทรดเดอร์ส่วนมากใช้วิธีการนี้ในการกำหนดจุด Stop loss ส่วนการหากรอบการแกว่งตัว หรือช่วงความผันผวนของราคานั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ATR , Bollinger bands เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ไว้ใช้วัดความผันผวนของราคา

ตัวอย่างการใช้ Bollinger bands ในการตั้ง Stop loss

ตัวอย่างการใช้ ATR ในการตั้ง Stop loss

  1. Chart stop
  วิธีการนี้เทรดเดอร์ส่วนมากก็นิยมใช้เช่นเดียวกัน คือกำหนด Stop loss การรูปแบบราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าราคาไม่เป็นไปตามกราฟเดิมที่คาดการณ์ไว้ ก็จะตั้ง Stop loss ตรงที่ราคาจะทำให้กราฟเปลี่ยน

ตัวอย่าง Chart stop กรณีฝั่ง Long ถ้าราคาลงต่ำกว่า 1.2800 ก็จะตัดขาดทุนออกไป
  1. Time stop
เป็นการกำหนด Stop loss อีกอย่างหนึ่งที่ในกรณีว่า Entry แล้วราคาไม่ไปไหน นิ่งๆ ไม่ถึงเป้าหมาย และก็ไม่โดน Stop เช่นกัน อย่างนี้ก็ถือว่าราคาไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ก็ให้ออกจากออเดอร์นั้น

ตัวอย่าง Time stop เมื่อ Long entry แล้ว ราคาแกว่งตัว Sideway ออกด้านข้างไม่ไปไหน

ทีมงาน : forexindicatorsthai.com

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

4 ขั้นตอนในการเข้าเทรด

4 ขั้นตอนในการเข้าเทรด


            ทุกอย่างมันกระบวนการดำเนินงานของมันอยู่ การเทรดก็เช่นเดียวกัน ในการเข้าเทรดต้องอาศัยกระบวนการ ลำดับขั้นตอนที่จัดการ ตั้งแต่เริ่มคือตั้งแต่เริ่มเข้าซื้อ และสุดท้ายคือขายออก โดยเราสามารถแยกกระบวนการต่างๆนี้ออกมาได้ 4 ขั้นตอน


  1. Set up การเทรด
                        ในโลกของการเทรดนั้นมีเป็นร้อยเป็นพัน Set up เราเพียงแค่เลือก Set up ในการเทรดที่เหมาะสมกับเรา ว่าเราชอบเล่นสั้น หรือเล่นยาว ชอบกลยุทธ์แบบ Trend follow หรือ Mean reversion เป็นต้นเมื่อเราได้ Set up ของเราแล้ว เราเพียงแค่รอให้ราคาเข้า Set up ของเรา แล้วค่อยพิจารณาเข้าไปเทรด หากราคาไม่ได้เข้าเงื่อนไข Set up เรา ก็ไม่ต้องเข้าไปเทรด
  1. จุด Trigger
                        หลังเกิด Set up แล้ว ก็ตรงหาจุด Trigger ในการเข้าเทรด อาจใช้การตั้ง Order แบบ Limit price , Buy stop , หรือ Action ทันที เป็นต้น อันนี้ก็แล้วแต่ว่าเทรดเดอร์จะใช้การเข้าแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ที่ใช้
  1. จุด Exit
                        หลังจากที่เข้าเทรดได้แล้ว ก็ต้องมีจุดที่ออก ให้กำหนดเงื่อนไขในการออกของเรา เราสามารถใช้เครื่องมือ Indicator ในการกำหนด หรือใช้ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงในการตั้งเป้าหมาย หรือในแง่ของกำไรสามารถ Run trend โดยใช้จุด Trailing stop เป็นต้น และสิ่งสำคัญเลยก็ต้องมีจุด Stop loss เพื่อหยุดการขาดทุนหากไม้ที่เทรดนั้นพลาด


  1. การวางหน้าตัก
                        ขนาดหรือ Size ในการเทรดแต่ละไม้ก็ควรคำนวณจากหน้าตักของเรา ให้เหมาะสมกับการเทรด ตัวอย่างที่เทรดเดอร์หลายคนใช้คือรับความเสี่ยงที่ 2% เป็นต้น
เมื่อเรามีลำดับขั้นตอน 4 อย่างนี้แล้ว ก็เพียงแค่ทำเป็นกระบวนการเป็นลำดับขั้นต้น
            - ไม่เทรดถ้าไม่เข้า Set up ที่ตั้งไว้ เราไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจอ ใช้การตั้ง Alert เพื่อเตือนว่าราคาเข้า Set up ของเราแล้ว
            - เมื่อเข้า Set up แล้ว เราก็เข้าไปตั้ง Order กำหนด Position size ที่เหมาะสม
            - ถ้าราคา Match ให้ไปกำหนดจุด Stop loss และรอหาจังหวะออกเพื่อทำกำไร
            - ถ้าไม่ Match ก็ยกเลิกการเทรดนั้นไป

ทีมงาน : forexindicatorsthai.com